ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 เข้าชื่อเพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัย ว่าการที่ ที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 19 ก.ค. มีมติว่าการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาลงมติเป็นนายกรัฐมนตรี ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อที่ 41 เป็นการเสนอญัตติซ้ำนั้น เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้หรือไม่ และหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็ขอให้มีคำสั่งไปยังที่ประชุมรัฐสภาให้ยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ล่าสุดมีรายงานว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความเห็นการเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช่ ญัตติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความเห็นการเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช่ญัตติ เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ การลงมติวันที่ 19 ก.ค. ของรัฐสภา ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยผู้ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจฯเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 213 จากกรณีที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค.66 ลงมติวินิจฉัยว่า การเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกฯ ถือเป็น ญัตติ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ซึ่งกำหนดว่า ญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียน จึงขอให้ผู้ตรวจฯยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ นั้น
ผู้ตรวจฯ ได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน โดยพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนว่า เข้าองค์ประกอบ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ ในการเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไว้ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ2561 หรือไม่
โดยเห็นว่า รัฐสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นหนึ่งในสามของอำนาจอธิปไตย รัฐสภาจึงถือเป็นหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ หากการกระทำของรัฐสภาละเมิดสิทธิเสรีภาพ ย่อมถูกตรวจสอบได้โดยศาลรัฐธรรมนูญและการกระทำของ รัฐสภา ในการลงมติวินิจฉัยว่าการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกฯ ถือเป็น ญัตติ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 นั้น